อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังเรียนจบวิทยาการคอมพิวเตอร์
นักเขียนโปรแกรม หรือ โปรแกรมเมอร์ (programmer) คือผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งนักเขียนโปรแกรมสามารถหมายถึงผู้ที่เชี่ยวชาญในการโปรแกรมเฉพาะด้าน หรือผู้ที่สามารถเขียนรหัสซอฟต์แวร์ได้หลากหลายข้อมูล
นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Scientist) นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เป็นมืออาชีพที่ศึกษาและวิเคราะห์ว่าคอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลและใช้งานอย่างไรพวกเขาเรียนรู้แนวคิดด้านเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์พวกเขาสามารถทํางานร่วมกับวิศวกรคอมพิวเตอร์ออกแบบคอมพิวเตอร์ใหม่ หรือทํางานด้านอื่น ๆ เช่น การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะพวกเขาสามารถมีบทบาทต่างๆ ในอุตสาหกรรมข้อมูลและเทคโนโลยีได้จุดเด่นทั่วไป ได้แก่ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ทฤษฎี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ (Computer System Analyst) คือผู้ที่ทำหน้าที่ศึกษาปัญหาและความต้องการขององค์กรในการกำหนดบุคคล ข้อมูล การประมวลผล การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ว่าจะจัดการหรือปรับปรุงอย่างไรเพื่อสามารถพัฒนาระบบธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้ โดยจะทำการศึกษาปัญหา รวบรวมความต้องการของระบบ วิเคราะห์ระบบงานธุรกิจ ตรวจสอบว่าจะนำระบบสารสนเทศมาใช้หรือไม่ หรือควรปรับปรุงระบบเดิม เขียนข้อกำหนดและรายละเอียดของระบบใหม่ เลือกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ใดที่เหมาะสมกับองค์กร มีการวิเคราะห์ต้นทุนว่าคุ้มกับการ ที่จะลงทุนเปลี่ยนระบบใหม่หรือไม่ หรือมีทางใดที่จะช่วยให้ระบบสามารถสนับสนุน ความต้องการองค์กรได้เป็นอย่างดี
ผู้บริหารโครงการซอฟต์แวร์ (Software Project Manager) คือผู้ที่มีตำแหน่งที่มีหน้าที่จัดการโครงการ ซึ่งรวมถึง การวางแผน การดำเนิน การตรวจสอบ การควบคุม และการปิดโครงการ ผู้จัดการโครงการมีหน้าที่รับผิดชอบในโครงการทั้งหมด ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การบริหารบุคลากรในโครงการ การดูแลทรัพยากร และการทำให้โครงการประสบความสำเร็จ
นักบริหารฐานข้อมูล (Database Administrator) คือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจะควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดสิทธิการใช้งานข้อมูล กำหนดในเรื่องความปลอดภัยของการใช้งาน พร้อมทั้งดูแลดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) ให้ทำงานอย่างปกติด้วย
ความแตกต่างระหว่าง Computer Science กับ Information Technology อันดับแรกคือ เทรน หรือแนวโน้มในศตวรรษนี้ IT กับ IS ดูจะมาแรงกว่าศาสตร์คอมพิวเตอร์สาขาอื่นๆ ศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ CS เน้นหนักเรื่องของการเรียนรู้ทฤษฏี ในเรื่องกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ และโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ และศึกษาทฤษฏีด้านฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรม ตามลำดับ ส่วน IT เน้นการประยุกต์ใช้งาน ในศาสตร์ด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ การจัดการองค์กรและระบบสารสนเทศ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีโครงข่ายและการสื่อสารข้อมูล (จะเห็นว่าไม่เน้นการเรียนฮารด์แวร์) และเน้นประยุกต์ใช้งานเป็นหลัก IT เน้นประยุกต์ใช้มากกว่าเน้นทฤษฏี คราวนี้ ถ้าเรามาพูดถึงชื่อ Information Technology หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ = การนำเอาเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ ควบคุม ดูแล บริหาร และจัดการ สารสนเทศเทคโนโลยี ได้แก่อะไรบ้าง ก็คงจะเป็นเทคโนโลยีทุกรูปแบบที่สามารถจัดการสารสนเทศได้ เพราะฉะนั้นที่เห็นในปัจจุบัน ก็หนีไม่พ้น computer และ communication ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเราต้องเน้น เรียนเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อการสื่อสาร อีกประเด็นคือ แม้ว่าตามหลักการแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศ จะเน้นการประยุกต์ใช้เพื่อจัดการสารสนเทศ ซึ่งก็คือข้อมูล ข่าวสาร ทุกอย่างที่เราใช้ในการดำรงชีวิต (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรที่ไปทำงาน) แต่อย่าลืมว่า จะประยุกต์ใช้ได้ ก็ต้องรู้จักทฤษฏี หลักการทำงาน ของสิ่งเหล่านั้นก่อนอันที่จริง จากความเห็นส่วนตัวของอาจารย์ คิดว่า การจัดการสอนระดับปริญญาตรีในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะกับสถาบันการศึกษา ที่มีนโยบายเปิดกว้าง รับนักศึกษาสายใดก็ได้มาเรียนสาขานี้เพราะโดยหลักที่เห็นว่าเราต้องมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ศาสตร์เพื่อจัดการสารสนเทศ แต่ในความเป็นจริงกลับต้องมีวิชาปูพื้นฐานหลักการ และทฤษฏี ให้กับหลายๆ คนที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน ซึ่งก็คงตอบได้ว่าทำไม ปี 1 จึงเรียนคล้าย วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมากเพราะวิทยาการคอมพิวเตอร์ก็ต้องปูพื้นฐาน หลักการและทฤษฏีเบื้องต้นเช่นกันและก็คงตอบได้ว่าทำไม Drop out rate ในปัจจุบันของสาขานี้ ของที่นี่ จึงสูงมากกว่าในอดีต เพราะหลายๆ สถาบันการศึกษาที่เปิดรับสาขาเดียวกัน ส่วนใหญ่จะระบุเลยว่าผู้เรียนจะต้องมีพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์มาก่อน (เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ หรือสายวิทย์-คณิต มา) ปัญหานี้ทางแก้คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับหลักสูตร หรือสถาบันการศึกษาเพราะสถาบันการศึกษาก็อยากเปิดกว้าง ให้โอกาสแก่ผู้ที่สนใจจะศึกษาด้านนี้จริงๆแม้ว่าจะเพิ่งค้นพบตัวเองในภายหลังก็ตาม ดังนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียน ต้องถามตัวเองว่า สนใจสาขาวิชานี้จริงจังหรือไม่หรือว่าเรียนตามกระแส เรียนตามเพื่อน เรียนเพราะตลาดต้องการ ฯลฯ ลองถามตัวเองว่า เราเรียนเพราะสิ่งที่กล่าวข้างต้นหรือไม่ หรืออยากเรียนเพราะสนใจจริงๆ หากเรียนเพราะสนใจจริงๆ แล้ว ทฤษฏี หลักการ ที่จำเป็นต้องปูพื้นฐานนั้น ก็จะไม่ใช่ปัญหา เพราะคนที่สนใจ จะใฝ่รู้ และศึกษาในเรื่องที่เราสนใจจริงจัง ตลอดเวลา เป็นนิสัยโดยมิต้องบังคับตัวเอง หรือให้ใครมาบังคับ และคนที่เป็นเช่นนั้นได้ ก็จะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในการเรียน และหน้าที่การงานในอนาคต
อ้างอิง
http://www.l3nr.org/posts/193239
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังเรียนจบวิทยาการคอมพิวเตอร์ was originally published in Computer Science VRU on Medium, where people are continuing the conversation by highlighting and responding to this story.
บทความอื่นๆ

รับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี (จันทร์-ศุกร์ และ เสาร์-อาทิตย์) 2567
Chavalit Koweerawong
กยศ. กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
Chavalit Koweerawong

ประเพณีการละเล่นแข่งจุดลูกหนูของชาวมอญ
The Collector

การเทียบโอนรายวิชานักศึกษาใหม่
The Collector

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาคจันทร์ถึงศุกร์กับเสาร์อาทิตย์เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
The Collector
อาจารย์ผู้เขียนบทความ
