หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาคจันทร์ถึงศุกร์กับเสาร์อาทิตย์เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?


วิทยาการคอมพิวเตอร์ สมัครเรียน computer-science
เรียนต่อป.ตรี เลือก จันทร์ — ศุกร์ หรือ เสาร์ — อาทิตย์ แบบไหนดีกว่ากัน

นักศึกษาที่จบหลักสูตรหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ทุกคนไม่ว่าจะจบจากภาคไหนก็ตาม จะได้รับวุฒิเป็นวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) เหมือนกัน พูดง่ายๆ ก็คือผลลัพธ์สุดท้ายนั้นเหมือนกันแต่จะมีรายละเอียดบางประการเท่านั้นที่แตกต่าง ซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติมในรายละเอียดด้านล่าง

  1. สถานะนักศึกษาระหว่างศึกษาอยู่

นักศึกษาที่เรียนจันทร์ถึงศุกร์ จะเรียกว่า “นักศึกษาเต็มเวลาจันทร์ถึงศุกร์” และนักที่เรียนเสาร์ถึงอาทิตย์ จะเรียกว่า “นักศึกษาเต็มเวลาเสาร์อาทิตย์” ซึ่งจัดเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเหมือนทั้งคู่เพียงแค่เรียนกันคนละช่วงเวลา สิทธิในการใช้งานทรัพยากรต่างๆ ในมหาวิทยาลัยนั้นมีเท่าเทียมกัน

2. โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรภาคจันทร์ถึงศุกร์กับหลักสูตรภาคเสาร์อาทิตย์เหมือนกัน เนื่องจากใช้หลักสูตรเดียวกัน ใช้เวลาในการเรียนตามแผน 4 ปีเหมือนกัน แต่หากท่านใดที่เคยได้รับวุฒิ ปวส. หรือ ปริญญาตรีจากสาขาอื่นๆ มาก่อนก็สามารถดำเนินการเรื่องเทียบโอนได้ ตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

การเทียบโอนถ้าหากจบวุฒิ ปวส. จะสามารถเทียบโอนได้อย่างน้อย 15 หน่วยกิต (12%) และถ้าหากจบวุฒิปริญญาตรีมา 1 ใบแล้วจะสามารถเทียบโอนได้อย่างน้อยถึง 30 หน่วยกิต (24%) เลยทีเดียว

3. เวลาเรียน

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์จะเรียนทั้งหมด 4 ปีจบ โดยเวลาเรียนของทั้งสองภาคจะแตกต่างกันเนื่องด้วยจำนวนเวลาเรียนที่ไม่เท่ากันในแต่ละสัปดาห์

สำหรับหลักสูตรภาคจันทร์ถึงศุกร์ เหมาะกับผู้เรียนที่มีเวลาว่างเพียงพอที่สามารถเรียนในช่วงวันจันทร์ถึงศุกร์ เรียน 5 วันต่อสัปดาห์ แต่ละปีการศึกษาจะเรียนทั้งหมด 2 ภาคเรียน คือ ภาคเรียนที่ 1 (กรกฎาคม-ตุลาคม) และภาคเรียนที่ 2 (พฤศจิกายน-มีนาคม) ระยะเวลาเรียนประมาณ 9 เดือน ใน 12 เดือน

สำหรับหลักสูตรภาคเสาร์อาทิตย์ เหมาะกับผู้เรียนที่ไม่มีเวลาว่างเรียนในช่วงวันจันทร์ถึงศุกร์ แต่ว่างในวันเสาร์อาทิตย์ ซึ่งจะเหมาะกับผู้เรียนที่มีงานทำประจำอยู่แล้ว เรียน 2 วันต่อสัปดหา์ แต่ละปีการศึกษาจะเรียนทั้งหมด 3 ภาคเรียนคือภาคเรียนที่ 1 (มิถุนายน-ตุลาคม) ภาคเรียนที่ 2 (พฤศจิกายน-มีนาคม) และภาคเรียนที่ 3 (เมษายน-พฤษภาคม) ระยะเวลาเรียนประมาณ 11 เดือน ใน 12 เดือน

บางท่านอาจสงสัยว่าถ้าว่าง แค่วันเสาร์หรือวันอาทิตย์อย่างเดียวสามารถเรียนได้หรือไม่ ในทางทฤษฎีก็สามารถทำได้ใช้เวลาประมาณ 8 ปี แต่ก็ค่อนข้างเสี่ยงในเรื่องของความต่อเนื่องของการเรียน เพราะจะทำให้เรียนไม่ตรงกับเพื่อน ทางที่ดีควรมีเวลาว่างทั้งเสาร์และอาทิตย์จะดีที่สุด

4. ค่าลงทะเบียนเรียน

ค่าลงทะเบียนต่อภาคเรียนเท่ากัน คือ 12,000 บาทต่อเทอม โดยสามารถเรียนกี่วิชาก็ได้ (บุฟเฟต์) แต่ต้องไม่เกินจำนวนหน่วนกิตสูงสุดที่สามารถลงทะเบียนได้ แต่เนื่องจากภาคเสาร์ อาทิตย์มีเวลาเทอมน้อยกว่าจึงต้องเรียนเสริมในภาคฤดูร้อนด้วย เพื่อให้สามารถจบได้ใน 4 ปีตามโครงสร้างหลักสูตร

  • ภาคจันทร์ถึงศุกร์ จ่าย 2 เทอมต่อปี (ประมาณ 24,000 บาท/ปี)
  • ภาคเสาร์ อาทิตย์ จ่าย 2 เทอมครึ่ง ต่อปี (ประมาณ 30,000 บาท/ปี)

อัตราข้างต้นเป็นอัตราที่ใช้กับนักศึกษปีที่ 1–4 หากเรียนไม่จบภายใน 4 ปีตามแผนก็สามารถลงทะเบียนเพิ่มเติมเป็นรายวิชาได้

สรุปแล้วเรียนภาคจันทร์ถึงศุกร์ก็จะถูกกว่า 6,000 บาท / ปี แต่ต้องมีเวลาว่าง

5. จำนวนหน่วยกิตที่สามารถลงทะเบียนได้ในแต่ละเทอม

  • นักศึกษาภาคจันทร์ถึงศุกร์สามารถลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนปกติไม่เกิน 22 หน่วยกิตต่อเทอม
  • นักศึกษาเสาร์อาทิตย์สามารถลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 15 หน่วยกิตต่อเทอม ด้วยข้อจำกัดของเวลาเรียนที่น้อยกว่า

credit : อาจารย์วิวัฒน์ ชินนาทศิริกุล

รับสมัครระดับปริญญาตรี จันทร์ — ศุกร์ และเสาร์ — อาทิตย์

ลิงค์สมัครเรียน

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์รับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี


หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาคจันทร์ถึงศุกร์กับเสาร์อาทิตย์เหมือนหรือต่างกันอย่างไร? was originally published in Computer Science VRU on Medium, where people are continuing the conversation by highlighting and responding to this story.

บทความอื่นๆ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังเรียนจบวิทยาการคอมพิวเตอร์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังเรียนจบวิทยาการคอมพิวเตอร์

The Collector

รับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี (จันทร์-ศุกร์ และ เสาร์-อาทิตย์) 2567

รับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี (จันทร์-ศุกร์ และ เสาร์-อาทิตย์) 2567

Chavalit Koweerawong

กยศ. กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

กยศ. กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

Chavalit Koweerawong

ประเพณีการละเล่นแข่งจุดลูกหนูของชาวมอญ

ประเพณีการละเล่นแข่งจุดลูกหนูของชาวมอญ

The Collector

การเทียบโอนรายวิชานักศึกษาใหม่

การเทียบโอนรายวิชานักศึกษาใหม่

The Collector


อาจารย์ผู้เขียนบทความ

วิวัฒน์ ชินนาทศิริกุล
วิวัฒน์ ชินนาทศิริกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
1 พบ.ม. สถิติประยุกต์ (ระบบและการจัดการสารสนเทศ) - สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
2 กศ.บ. (คณิตศาสตร์) - มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
IT201 อาคาร 75 ปีฯ

บทความที่เกี่ยวกับผู้เขียน

สมัครเรียนกับเรา

สอบถามข้อมูลการรับสมัครเพิ่มเติม

โทร. 02-909-1432 ต่อ 14